ใครที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ มีทั้ง บุคคลธรรมดา/นิติบุคคล บริษัท ห้างหุ้นส่วน

ความสำคัญของการจดทะเบียนพาณิชย์

ผู้ประกอบการที่มีลักษณะการค้าที่เป็นพาณิชย์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 การที่ผู้ประกอบการ ที่เป็นทั้ง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จดทะเบียนพาณิชย์ก็สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการหรือธุรกิจของเราได้ ส่งผลให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของเรา ทำให้ยอดขายหรือผลกำไรตามมา 

ลักษณะกิจการค้าที่เป็นพาณิชย์ที่ต้องจดทะเบียน กรณี นิติบุคคล(บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

(1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
(4) บริการอินเทอร์เน็ต
(5) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(6)บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(7) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
(8) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(9) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(10) การให้บริการตู้เพลง
(11) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

ลักษณะกิจการค้าที่เป็นพาณิชย์ที่ต้องจดทะเบียน กรณี บุคคลธรรมดา มีเหมือน นิติบุคคล แต่มีข้อเพิ่มเติมดังนี้

(1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
(2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
(4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
*เพิ่มเติม ลักษณะกิจการค้าส่วนใหญ่ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์คือ ค้าขายสินค้า ส่วนลักษณะกิจการค้าส่วนใหญ่ที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชณ์คือ งานบริการ

การจดทะเบียนพาณิชย์

สามารถ  Download แบบฟอร์ม การจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=946

สถานที่จดทะเบียน  เทศบาล,องค์การบริหารส่วนตำบล,สำนักงานเขต