ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ บุคคลธรรมดาที่มีรายได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฏหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบเสียภาษีต่อกรมสรรพกร เช่น พนักงานบริษัทได้รับเงินของปี 2559 ต้องยื่นแบบเสียภาษีภายในระยะเวลา มกราคม – มีนาคม ของปี2560 หมายความว่า รายได้ที่ได้รับในช่วง มกราคม- ธันวาคม ของปีที่ผ่านมาต้องนำมาคำนวณภาษีและยื่นแบบชำระภาษีในปีนี้ช่วงเดือน(มกราคม – มีนาคม)ของปีปัจจุบัน /

ประเภทของเงินได้บุคคลธรรมดา  มี8ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น

ประเภทที่ 3ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น

ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น

เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ

ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

วิธีการยื่นแบบภาษี

จากข้อมูลด้านบนเราก็มาหาว่าเงินได้ของเราอยู่ในประเภทไหน สมมุติว่า เราเป็นพนักงานบริษัท ได้รับเงินค้าจ้าง ก็จัดว่าเงินได้ของเราอยู่ในประเภทที่ 1

ที่นี้มาดูหลักเกณฑ์การยื่นแบบภาษี

ภ.ง.ด. 90 มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท

ภ.ง.ด. 91 มีเฉพาะเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1ม.40(1) ประเภทเดียว

ภ.ง.ด. 93 มีเงินได้ขอชำระภาษีล่วงหน้า

ภ.ง.ด. 94 ยื่นครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินเฉพาะประเภทที่ 5,6,7 และ 8

ภ.ง.ด. 95 คนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการาจ้างแรงงานจากสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค

จากหลักเกณฑ์ด้านบนจะเห็นว่าเราได้รับเงินค้าจ้างหรือเงินเดือน  ซึ่งก็ต้องยื่นแบบภาษี ภ.ง.ด. 91 ต่อกรมสรรพากร

วิธีการคำนวณภาษี

สมมุติ นาย A  ได้รับเงินค่าจ้างมีรายได้ต่อปี รวมกันแล้ว 320,000 บาท สามารถนำมาลดภาษีได้ 2ส่วน คือ

(1) นำมาหักค่าใช้จ่าย ได้ดังนี้

จะเห็นว่ารายได้ของเราอยู่ในประเภทที่ 1 สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น 320,000 – 100,000 = หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือ 220,000 บาท

(2)นำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

สมมุติ นาย A  มีลูก 1 คน ก็นำมาลดหย่อนภาษี ได้คนละ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 คน

220,000 – 30,000 = 190,000 บาท 

ดูหลักเกณฑ์การลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/557.0.html

รายได้สุทธิคือ 190,000 บาท ตามอัตราภาษีขั้นบันไดต้องเสียที่ภาษี 5%

แต่ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้น จะได้ 190,000 – 150,000 = 40,000 บาท จะเสียภาษี 5% ก็เท่ากับ 2,000 บาท

สามารถยื่นแบบภาษีได้ที่ Web Site ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th